ข้อกำหนดการจัดรูปแบบบทความวิจัย

Category: รายละเอียดโครงการ
Written by thongpan Hits: 6140
 
ดาวน์โหลด(word file) : ตัวอย่าง เทมเพลส
 
 
 
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
Manuscript Preparation Guidelines
ยิ่งยง รักดี1 และ กริยา มั่นคง 2
Yingyong Rakdee and Kiriya Munkong
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นตัวอย่างรูปแบบ และวิธีการเขียนบทความเพื่อพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องการประชุม (Proceeding) ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาการบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 7 ผู้ส่งบทความจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยขอให้อ้างอิงตัวอย่าง, คำแนะนำรวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ ตามบทความฉบับนี้ หากบทความใดที่ส่งมามีรูปแบบไม่ถูกต้องจะถูกส่งคืนเพื่อแก้ไขให้ก่อนการตีพิมพ์ บทคัดย่อที่ดีควรมีเพียงย่อหน้าเดียว โดยใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 สำหรับบทความภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีความยาวโดยรวมประมาณ ½ หน้า แต่ไม่เกิน ¾ หน้า คำสำคัญต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนไม่เกิน 5 คำ คั่นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวเอียง (Italic) ทั้งหมด
 
คำสำคัญ: คำสำคัญที่ 1, คำสำคัญที่ 2, คำสำคัญที่ 3, คำสำคัญที่ 4, คำสำคัญที่ 5
 
 
Abstract
This article describes a submission procedure and a format of a manuscript for the Proceeding of The Second Annual Conference on Business and Accounting. Authors are required to strictly follow the guidelines provided here; otherwise, the manuscript will be returned for the proper correction. A good abstract should have only one paragraph, use 15 points Angsana New. Both Thai and English abstracts are required for paper written in Thai and the total length should be ½ page and not exceed ¾ page. Keywords must be included both in Thai and English with the maximum of 5 keywords. Each keyword must be divided by comma (,) and use 15 points Angsana New (Italic).
 
Keywords: Keyword 1, Keyword 2, Keyword 3, Keyword 4, Keyword 5
 
 
1 นิสิตปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ. กรุงเทพฯ 10290 email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
2 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพฯ 10290
 
 
1. บทนำ
      เนื้อหาในบทความให้พิมพ์ด้วยตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวปกติ ยกเว้นหัวข้อให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 ตัวหนา (Bold) ชิดขอบซ้าย (Align left) โดยเนื้อหาให้เว้นระยะ 1 บรรทัดจากหัวข้อและบรรทัดแรกของเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าให้เยื้องเข้ามา 5 ตัวอักษร โดยเนื้อหาบทความรวมบทคัดย่อทั้งหมดมีความยาวไม่เกิน 10 หน้า
ในส่วนบทนำ (Introduction) ควรครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย ตลอดจนวัตถุประสงค์และประโยชน์ของผลงานวิจัย โดยบทนำควรเขียนอยู่ในรูปแบบเรียงความให้รวมเป็นเนื้อหาเดียวกัน
 
 
2. ทบทวนวรรณกรรม
2.1 การอ้างอิงในเนื้อหา
 
  การอ้างอิงในเนื้อหาให้ใช้ระบบ นาม-ปี โดยภาษาไทยใช้ (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีพ.ศ.) เช่น (ปัญญา งามดี, 2549) สำหรับภาษาอังกฤษให้ใช้ (นามสกุลผู้แต่ง, ปีค.ศ.) เช่น (Fama, 1992) ผู้เสนอบทความเป็นผู้รับผิดชอบในความครบถ้วนและถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด
 
2.2 รูปภาพและตาราง
 
    กรณีมีรูปภาพหรือตารางให้แทรกในบทความ จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ (Center) และต้องมีหมายเลขกำกับโดยคำอธิบายรูปภาพให้พิมพ์ไว้ใต้รูปภาพ โดยใช้คำว่า “รูปที่” หรือ “Figure” และให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวหนา ยกเว้นคำอธิบายให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวปกติ พิมพ์ชิดขอบซ้าย
 
 
รูปที่ 1 คำอธิบายชื่อรูป
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
ในการนำเสนอตาราง ห้ามนำเสนอเป็นไฟล์รูปภาพ ตัวอักษรในตารางจะต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อหา ควรตีเส้นกรอบตารางด้วยหมึกดำให้ชัดเจน และตารางไม่ควรมีเส้นสดมภ์ (Column) โดยคำอธิบายตารางให้พิมพ์ไว้เหนือตาราง โดยใช้คำว่า “ตารางที่” หรือ “Table” และให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวหนา ยกเว้นคำอธิบายให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 15 ตัวปกติ พิมพ์ชิดขอบซ้าย
 
ตารางที่ 1 คุณสมบัติของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
 
 
 
2.3 การเขียนสมการ (ถ้ามี)
 
     หากมีการเขียนสมการ สมการทุกสมการจะต้องใช้ Microsoft Equation Editor พิมพ์เท่านั้น โดยมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ และเรียงตามลำดับที่ถูกต้อง ตำแหน่งของหมายเลขสมการจะต้องอยู่ชิดขอบขวาของคอลัมน์ เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนเขียนสมการ และเว้นหนึ่งบรรทัดหลังเขียนสมการ จัดให้สมการอยู่ตรงกลางคอลัมน์ดังตัวอย่างดังนี้
 
   
 
   สมการที่ (1) แสดงการคำนวณอัตราผลตอบแทน ณ วันที่ t
 
 
3. วิธีการศึกษา
 
     วิธีการศึกษาควรประกอบด้วยประชากร กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่แนะนำให้ copy ตามวิธีเขียนใน manual วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระของสถาบัน เช่น การทำเป็นหัวข้อย่อยหรือ bullet จนมากเกินไป ควรทำให้เป็นการเขียนแบบเรียงความ เพราะเนื้อความในบทความจะมีความสั้นกว่าในเล่มวิทยานิพนธ์
 
 
4. ผลการศึกษาและอภิปราย
 
   ผลการศึกษาที่ตอบตามคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์และข้อสมมติฐานของการวิจัย
 
 
5. สรุปผลการศึกษา
 
  สรุปผลการศึกษาควรประกอบด้วย สรุป และข้อเสนอแนะ ข้อจำกัดในการศึกษา
 
 
บรรณานุกรม
 
     ให้เรียงตามลำดับตัวอักษร เริ่มจากภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
ฉันทนา บรรณศิริ และ โชติ หวันแก้ว. (2535). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็กทำงาน (รายงานผลการวิจัย).           กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
Yun, J. (2011). A Present-Value Approach to Variable Selection. Working Papers of University of Chicago Booth School of Business
 
Zivot, E., & Andrews, D. W. K. (1992). Further Evidence on the Great Crash, the Oil-Price Shock, and the Unit-Root Hypothesis. Journal of       Business & Economic Statistics, 10 (3), 251-270.